Parts of Speech
- Teacher Fahsai
- 23 ส.ค. 2567
- ยาว 3 นาที
อัปเดตเมื่อ 24 ส.ค. 2567
Parts of Speech คือ การแบ่งประเภทของคำในภาษาอังกฤษตามหน้าที่ออกเป็น 8 ชนิด ได้แก่ Noun, Pronoun, Verb, Adjective, Adverb, Preposition, Conjunction และ Interjection

บทความสรุป Parts of Speech in English Grammar
Parts of Speech คืออะไร
Parts of Speech คือ ชนิดหรือประเภทของคำในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีหน้าที่และตำแหน่งในประโยคแตกต่างกันออกไป ความเข้าใจเกี่ยวกับ Parts of Speech ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้ถูกต้อง
การเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจประเภทของคำหรือ Parts of Speech นั้นมีประโยชน์ เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจส่วนย่อยของภาษา ตั้งแต่คำ วลี ไปจนถึงประโยคที่ใช้ในภาษาอังกฤษ


1. Noun (คำนาม)
คำนาม หรือ Noun คือ คำในภาษาอังกฤษซึ่งใช้เรียกชื่อของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ รวมไปถึง ความรู้สึก อารมณ์ แนวคิด คุณสมบัติ สามารถแบ่งย่อยไปได้อีกหลากหลายประเภท เช่น Proper Nouns (คำนามชี้เฉพาะ), Common Nouns (คำนามทั่วไป), Collective Nouns (สมุหนาม) และ Abstract Nouns (อาการนาม)
2. Pronoun (คำสรรพนาม)
คำสรรพนาม หรือ Pronoun คือ คำที่ใช้เรียกแทนคำนาม เพื่อให้เกิดความกระชับและหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงคำนามเดิมซ้ำ ๆ เช่น I, you, he, she, it, we และ they เป็นต้น

3. Verb (คำกริยา)
Verb (คำกริยา) เป็นคำแสดงอาการ การกระทำของคำนามหรือคำสรรพนาม โดยมีหน้าที่แสดงการกระทำ ประสบการณ์ หรือสถานะว่าเป็นอย่างไร
4. Adjective (คำคุณศัพท์)
Adjective มีหน้าที่ขยายคำนาม เป็นการบ่งบอกว่าสิ่งเหล่านั้นมีลักษณะอย่างไร เพื่อให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ประเภทของ Adjective มีดังนี้
Comparative Adjectives
Comparative Adjectives เปรียบเทียบขั้นกว่าของสิ่งสองสิ่งที่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของ โดยอาจจะเป็นการเติม -er ต่อท้ายคำ เช่น smaller than และ bigger than หรือการเติม more / less ด้านหน้า เช่น more beautiful than และ less popular than
Superlative Adjectives
Superlative Adjectives คือการเปรียบเทียบขั้นสุดของกลุ่มคนหรือสิ่งของที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป โดยการเติม -est ต่อท้ายคำ หรือการเติม most หรือ least หน้าคำนั้นๆ เช่น the strongest, the most expensive และ the least intelligent เป็นต้น
Possessive Adjectives
Possessive Adjectives เป็นคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของของคำนาม การใช้คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของจะต้องมีคำนามตามหลังด้วยเสมอ คำคุณศัพท์ที่แสดงความเป็นเจ้าของ ประกอบไปด้วยคำว่า my, your, our, his, her, its และ their
Demonstrative Adjectives
Demonstrative Adjectives (คำคุณศัพท์ชี้เฉพาะ) มีหน้าที่ขยายคำนามเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำนามนั้นเป็นสิ่งไหน คำเหล่านั้นก็คือ this, that, these และ those
Descriptive Adjectives
Descriptive Adjectives (คำคุณศัพท์บอกลักษณะ) จะเข้ามามีบทบาทในประโยคเมื่อเมื่อจะอธิบายว่าคนหรือสิ่งต่างๆ ที่พูดถึงมีลักษณะอย่างไร ตัวอย่างคำเช่น good, bad, tall, cold และ fluffy เป็นต้น
Interrogative Adjectives
Interrogative Adjectives เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้กับประโยคคำถาม จะอยู่ที่ต้นประโยค โดยมีคำนามตามหลัง ตัวอย่างคำเช่น what, which, whose
Distributive Adjectives
Distributive Adjectives (คุณศัพท์แบ่งแยก) มีหน้าที่ขยายคำนามและแยกนามออกจากกันเป็นอันหนึ่งหรือส่วนหนึ่ง ตัวอย่างคำคุณศัพท์กลุ่มนี้คือ every, each, either และ neither

.
Adverb of Manner
Adverb of Manner (กริยาวิเศษณ์บอกลักษณะอาการ) ใช้เพื่อแสดงว่าประธานมีการกระทำกริยาในลักษณะใด อารมณ์ความรู้สึกแบบไหน เช่น angrily, calmly และ easily เป็นต้น
Adverb of Time
Adverb of Time (คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา) ใช้บอกว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เช่น before, after, since, ago และ yesterday เป็นต้น
Adverb of Place
Adverb of Place (กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่) ใช้เมื่อต้องการบอกว่าการกระทำกริยานั้นเกิดขึ้นที่ไหน เช่น above, under, somewhere, there และ along เป็นต้น
Adverb of Frequency
Adverb of Frequency (กริยาวิเศษณ์บอกความถี่) ใช้เพื่อบอกความถี่ของการกระทำ เช่นคำว่า often, every day, rarely, never และ again เป็นต้น
6. Preposition (คำบุพบท)
Preposition (คำบุพบท) คือคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง สถานที่แสดงความสัมพันธ์ ใช้เชื่อมคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา
Simple Preposition
Simple Preposition คือ คำบุพบทที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ เป็นคำเดียว เช่น in, on, at, from, up และ with เป็นต้น
Double Preposition
Double Preposition หรือ Compound Preposition คือคำบุพบทผสม มีมากกว่า 1 คำ เช่น next to, up to, into, within และ out of เป็นต้น
Compound Preposition
Compound Preposition คือ คำบุพบทที่เกิดจากการผสมคำ โดยการเติมคำนำหน้าอย่าง prefix เข้าไป เช่น across, outside, throughout, beneath และ beyond เป็นต้น
Participle Preposition
Participle Preposition เป็นบุพบทที่มีคำลงท้ายด้วย -ing, -en หรือ -ed เช่น excluding, regarding, considering, given และ provided เป็นต้น
Prepositions of Time
Prepositions of Time ก็คือคำบุพบทบอกเวลาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของคำนามและส่วนอื่นของประโยค เช่น at, in, on, since และ till เป็นต้น
Prepositions of Place
Prepositions of Place คือคำบุพบทบอกสถานที่ และบอกตำแหน่งของบุคคลหรือสิ่งของ โดยใช้คำบุพบทอย่าง in, on และ at เช่น at the corner, in a building และ on the floor เป็นต้น

7.Interjection (คำอุทาน)
คำอุทาน คือคำพูดแสดงอารมณ์ความรู้สึกตามที่ตนเองรู้สึกในขณะนั้นๆ อย่างเช่นความรู้สึกดีใจ เสียใจ แสดงความยินดี และไม่ได้มีผลทางด้านไวยากรณ์ในประโยค มักใช้คู่กับเครื่องหมายอัศเจรีย์ เช่น oh!, good job!, ah ha!, good grief!, และ wow! เป็นต้น

8.Conjunction (คำสันธาน)
Conjunction คือ คำสันธานหรือเรียกง่ายๆ ว่าคำเชื่อม อาจจะเป็นคำหรือวลีที่ทำหน้าที่เชื่อมคำ วลี และประโยคเข้าด้วยกัน คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ
Subordinating Conjunction
Subordinating Conjunctions มีหน้าที่เชื่อมประโยคหลักเข้ากับประโยคย่อย คำสันธานในกลุ่มนี้จะอยู่ที่หน้าประโยคหรือตรงกลางก็ได้ ตัวอย่างคำเชื่อมเช่น although, whenever, as soon as, whereas และ unless เป็นต้น
Coordinating Conjunction
หากใครเคยเรียนเรื่อง Coordinating Conjunction ในชั้นเรียนมาแล้ว คุณครูคงน่าจะสอนสูตร FANBOY กันมาแล้ว ซึ่งประกอบด้วย For, And, Nor, But, Or, Yet, So นั่นเอง ซึ่ง Coordinating conjunction นำไปใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคที่เป็นประเภทเดียวกัน หรือมีความสำคัญเท่ากัน
Correlative Conjunction
Correlative Conjunction คือคำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ โดยคำ วลีหรือประโยคที่นำมาเชื่อมต้องเป็นคำที่เป็นประเภทเดียวกันหือมีน้ำหนักและความสำคัญพอกัน เช่น both…and, either…or, neither…nor, not only…but also และ so…that เป็นต้น


Comments